มองหาความหมาย


ต้นราชพฤกษ์นี้ถูกเพาะเลี้ยงไว้ตั้งแต่รุ่นแม่ผู้ใ้ห้กำเนิดที่ปลูกไว้หน้าศาลพระภูมิของบ้าน เมื่อเริ่มแตกหน่อผลิใบจึงต้องหาทำเลที่อยู่ให้ใหม่เพื่อความเหมาะสม และจุดที่เหมาะที่สุดจึงเป็นแนวเดียวกับผู้ให้กำเนิดโดยมีระยะห่างจากแนวเขตบ้านประมาณ 5 เมตร ในวันหนึ่งข้างหน้าช่วงต้นปีประมาณเดือน มีนาคม-พฤษภาคม ก็จะมีโอกาสได้เห็นดอกสีเหลืองสว่างไสวเหมือนกับสีของตัวบ้าน มันเป็นความสดใสจากธรรมชาติที่แท้จริงเป็นทั้งร่มเงาให้กับร่างกายของมนุษย์ เป็นทั้งผู้ให้ความร่มเย็นทางความรู้สึกเมื่อได้มอง เป็นชีวิตหนึ่งที่เอื้อประโยชน์ให้กับอีกหลายชีวิต

มาอ่านเนื้อหาทางวิชาการสักหน่อยจากวิกิพีเดีย
ราชพฤกษ์ หรือ คูน (อังกฤษ: Cassia fistula) เป็นไม้ดอกในตระกูล Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย พม่า และศรีลังกา ดอกราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในที่โล่งแจ้ง สามารถปลูกได้ทั้งดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ทนต่อความแห้งแล้งและดินเค็มได้ดี แต่ไม่ทนในอากาศหนาวจัด ซึ่งอาจติดเชื้อราหรือโรคใบจุดได้

ลักษณะ
ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 10-20 เมตร ดอกขึ้นเป็นช่อยาว 20-40 เซนติเมตร แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลยาว 30-62 เซนติเมตร และกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่มีพิษเป็นจำนวนมาก

เกี่ยวกับชื่อ
ชื่อของราชพฤกษ์นั้นมีการเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกราชพฤกษ์ว่า คูน เนื่องจากจำง่ายกว่า (แต่มักจะเขียนผิดเป็น คูณ) ทางภาคเหนือเรียกว่า ลมแล้ง ทางภาคใต้เรียกว่า ราชพฤกษ์ ลักเกลือ หรือ ลักเคย ชาวกะเหรี่ยงและในกาญจนบุรีเรียกว่า กุเพยะ

การปลูก
ในช่วงแรกๆต้นราชพฤกษ์จะเจริญเติบโตได้ช้าในระยะเวลาประมาณ 1-3 ปีแรก หลังจากนั้นต้นราชพฤกษ์จะเจริญเติบโตเร็วขึ้น เปลือกจะเป็นสีน้ำตาลเรียบ มีรากแก้วยาวสีเหลือง และ มีรากแขนงเป็นจำนวนมาก เมื่อต้นราพฤกษ์มีอายุ 4-5 ปี จึงออกดอกและเมล็ด

การดูแลรักษา
แสง ต้นราชพฤกษ์ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้นราชพฤกษ์ต้องการปริมาณน้ำน้อย ควรให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง อายุประมาณ 4 ปี สามารถทนต่อสภาพธรรมชาติได้
ดิน ต้นราชพฤกษ์เจริยเติบโตได้ดีดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว
ปุ๋ย ต้นราชพฤกษ์นิยมใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในการบำรุงรักษา อัตรา 2-3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-4 ครั้ง
การขยายพันธุ์ ต้นราชพฤกษ์นิยมขยายพันธุิ์ด้วยการตอนกิ่ง การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด
โรค ต้นราชพฤกษ์ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร
ศัตรู ต้นราชพฤกษ์มีศัตรูหนอนเจาะลำต้น (Stem boring caterpillars) จะมีอาการ ลำต้นหรือยอดเป็นรู เป็นรอยเจาะทำให้กิ่งหักงอ
การป้องกัน ต้นราชพฤกษ์ควรปลูกโดยรักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก หรือกำจัดแมลงพาหะ ใช้ยาเช่นเดียวกับการกำจัด
การกำจัด ต้นราชพฤกษ์นิยมใช้ยาไดเมทโธเอท หรือ เมโธมิล อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

สรรพคุณ
ส่วนต่างๆ ของต้นราชพฤกษ์มีประโยชน์ดังนี้
ฝักแก่ เนื้อสีน้ำตาลดำและชื้นตลอดเวลา มีรสหวาน สามารถใช้เป็นยาระบายได้ โดยนำฝักมาต้มกับน้ำ และเติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือก่อนรับประทานอาหาร นอกจากนั้น ฝักแก่ยังมีสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง เมื่อนำฝักมาบดผสมน้ำแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน สารละลายที่กรองได้สามารถฉีดพ่นกำจัดแมลงและหนอนในแปลงผักได้ ฝักแก่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มด้วยเตาเศรษฐกิจ มีขนาดที่พอเหมาะ ไม่ต้องผ่า เลื่อยหรือตัด เนื้อของฝักแก่ใช้แทนกากน้ำตาลในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ขยาย
ฝักอ่อน สามารถใช้ขับเสมหะได้
ใบ สามารถนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคได้
ดอก แก้แผลเรื้อรัง

ความเชื่อ
ต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้มงคลนิยมใช้ประกอบพีธีที่สำคัญ เช่น พีธีเสาไม้หลักเมือง เป็นส่วนประกอบในการทำคฑาจอมพล และ ยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร ฯลฯ
คนไทยในสมัยโบราณเชื่อว่า ควรปลูกต้นราชพฤกษ์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่อยู่อาศัย เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านเรือนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นทวีคูณ ซึ่งความเป็นจริงคือทิศดังกล่าวจะได้รับแดดจัดตลอดช่วงบ่าย จึงควรปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อให้ลดความร้อนและทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น
คนไทยในสมัยโบราณยังมีความเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้ประจำบ้านจะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ด้วยคนไทยส่วนใหญ่ยอมรับว่าต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าสูงและยังเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยอีกด้วย นอกจากนี้มีความเชื่อว่า ใบของต้นราชพฤกษ์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะในพิธีทางไสยศาสตร์ให้ใบทำน้ำพุทธมนต์สะเดาะเคราะห์ได้ผลดีดังนั้นจึงถือว่าต้นราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลนาม

ชีวิตหนึ่งจึงถือกำเนิดขึ้นด้วยน้ำมือเราและก็จะถูกทำนุบำรุง ดูแลรักษาไปตลอดตั้งแต่วันนี้จนกว่าจะหมดอายุขัย มันเป็นภาระที่ต้องแบกรับด้วยความสำนึกในความมีตัวตนของชีวิตหนึ่งที่จะต้องเติบใหญ่ต่อไปในภายภาคหน้า

ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรหากว่าสักวันหนึ่งเราจะตั้งคำถามกับตัวเองว่า เกิดมาทำไม? นั่นก็คือช่วงเวลาไม่ปกติที่อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้และคำตอบสำหรับคำถามนี้ก็มีอยู่มากมายขึ้นอยู่กับตัวตนของเราเอง ว่าต้องการคำตอบแบบใด? มันเป็นวิถีทางพื้นฐานทั่วไปของชีวิตมนุษย์ที่ต้องการคำตอบซึ่งตนต้องการ ไม่ใชคำตอบที่เป็นความจริง เคยฟังคำตอบนี้จากผู้เลื่อมใสในธรรมของพุทธศาสนาว่า เราเกิดมาเพื่อชดใช้หนี้กรรม จึงมีคำถามตามมาอย่างงุนงงว่า แล้วคนที่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธจะค้องเชื่อด้วยหรือไม่? ดังนั้น คำตอบของคำถามดังนี้จึงไม่น่าจะถูกต้องตามที่ใจเราต้องการ เพราะมันจะมีคำถามหรือข้อสงสัยติดตามมาแบบไม่รู้จบ

จักรวาลมีความลี้ลับอยู่มากมายที่ผู้คนพยายามค้นคว้าหาคำตอบจากห้วงอวกาศอันกว้างไกล ในขณะที่ท้องทะเลลึกบางส่วนของโลกเราก็ยังคงเป็นความลับที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ มีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นมาจากวิวัฒนาการและความสามารถของมนุษย์ทุกวินาทีด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และพร้อมกันนั้นมนุษย์หลายคนก็ขุดคุ้ยค้นคว้าเพื่อหาคำตอบย้อนกลับลึกลงไปในอดีตที่ผ่านมาด้วยวิธีการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ แต่ทั้งสองประเภทนั้นกลับไม่ใช่วิธีการในการหาคำตอบถึงสิ่งที่เราต้องการจะรู้อย่างแท้จริง เพราะสิ่งที่เราต้องการจะรู้นั้นก็คือ สิ่งที่มีส่วนสัมพันธ์กับตัวของเราเองเท่านั้น

คำตอบจึงอยู่ที่ตัวเราตั้งแต่เริ่มแรก ไม่ได้ฝากความหวังไว้ให้ขึ้นอยู่กับคำถาม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บัวสี่เหล่า

บริการสาธารณะ

มองไปข้างหน้า