บัวสี่เหล่า


บัวสี่เหล่า คืออุปมาเปรียบบุคคลเหมือนดอกบัว 4 จำพวก ที่อยู่ในฐานะของบุคคลที่สามารถฝึกสอนให้รู้ธรรมได้และไม่ได้ในทางพระพุทธศาสนา เรื่องราวที่พระพุทธเจ้าเปรียบบุคคลเสมือนบัวจำพวกต่าง ๆ นั้น เป็นข้อความที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถา (คัมภีร์ชั้นหลัง) และพระไตรปิฏก ว่าเมื่อแรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ พระองค์ได้พิจารณาว่าพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อนสุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ แต่ต่อมาได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้ว ทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว 4 เหล่า (ตามนัยอรรถกถามี 4 เหล่า หรือ 3 เหล่า (ตามนัยพระไตรปิฎกมีเพียง 3

อนึ่ง มีความสับสนถึงเรื่องการเปรียบบุคคลด้วยบัว 3 เหล่าตามนัยพระไตรปิฎก คือสับสนนำข้อความในปุคคลวรรค ที่เปรียบบุคคลเป็น 4 เหล่า มาปะปนกับข้อความในอรรถกถา (คัมภีร์ชั้นหลัง) ที่เปรียบดอกบัวเป็น 4 เหล่า[4] ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะในพระไตรปิฏกพระพุทธองค์ตรัสเปรียบบุคคลเหมือนดอกบัวเพียง 3 เหล่าเท่านั้น

เมื่อพิจารณาจากบัวสี่หรือสามเหล่าดังกล่าว ความในมติอรรถกถากล่าวว่ายังมีมนุษย์บางจำพวกที่ไม่สามารถสอนได้ (อเวไนยสัตว์) ในขณะที่หากพิจารณาจากพระพุทธพจน์จากมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ตามพระไตรปิฎก มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะตรัสรู้ธรรมเช่นเดียวกับที่พระองค์ตรัสรู้ได้ (เวไนยสัตว์) กล่าวคือพระพุทธองค์ทรงพิจารณาแล้วว่ามนุษย์ที่ยังสามารถสอนให้รู้ตามได้ยังมีอยู่ จึงทรงตกลงพระทัยในการนำพระธรรมที่ทรงตรัสรู้มาสั่งสอนเวไนยสัตว์

บัวสามเหล่า (ตามนัยพระไตรปิฏก)

ในพระไตรปิฏก พระพุทธองค์ทรงพิจารณาตามคำเชื้อเชิญของสหัมบดีพรหมที่เชิญให้พระองค์แสดงธรรม พระพุทธองค์จึงทรงพิจารณาตรวจสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ และทรงเห็นว่า สัตว์โลกที่ยังสอนได้มีอยู่ เปรียบด้วยดอกบัว 3 จำพวก ดังความต่อไปนี้

... ครั้นอาตมภาพทราบว่าท้าวสหัมบดีพรหมอาราธนา และอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ. เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ บางเหล่ายังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้ บางเหล่า ตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่า ตั้งขึ้นพ้นน้ำ น้ำไม่ติด ฉันใด ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ฉันนั้น ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี...

— 'มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ทรงเปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า'

บัวสี่เหล่า (ตามนัยอรรถกถา)

ตามนัยอรรถกถา ได้อธิบายบุคคล 4 ในปุคคลวรรค พระไตรปิฏก ปนกับอุปมาเปรียบบุคคลด้วยดอกบัว 3 เหล่าใน มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [6] โดยลงความเห็นว่าบุคคล 4 ที่พระพุทธองค์ตรัสในปุคคลวรรค เปรียบกับดอกบัว 3 เหล่า (โดยเพิ่มบัวเหล่าที่ 4 เข้าไปในบุคคล 4 ในปุคคลวรรค) ดังนี้

บุคคล ๔ จำพวก คือ อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู เนยย ปทปรมะ ก็เปรียบเหมือนดอกบัว ๔ เหล่านั้นแล. ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกขึ้นแสดง ชื่ออุคฆฏิตัญญู. บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกความแห่งคำย่อโดยพิสดาร ชื่อว่าวิปจิตัญญู. บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับด้วยความพากเพียรท่องจำ ด้วยการไต่ถาม ด้วยทำไว้ในใจโดยแบบคาย ด้วยคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร ชื่อว่าเนยย. บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้น แม้เรียนมาก ทรงไว้มาก สอนเขามาก ชื่อว่าปทปรมะ.

— 'อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร ธมฺมเทสนาธิฏฺฐานวณฺณนา'

ความหมายของบัวสี่เหล่าตามนัยอรรถกถา

  1. (อุคคฏิตัญญู) พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที
  2. (วิปจิตัญญู) พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป
  3. (เนยยะ) พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง
  4. (ปทปรมะ) พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน

(ข้อมูลข้างต้นจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

หลักธรรมของพุทธศาสนาเป็นแหล่งรวมของความรู้ที่เป็นสัจธรรมมากมาย และมีคำอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ในทุกเรื่องราว 

แต่มีน้อยคนนักที่จะให้ความสนใจอย่างจริงจังและพิจารณาทุกปัญหาอย่างมีเหตุผลด้วยการใช้ สติ ปัญญา ของตนเอง (ที่มีข้อจำกัดอยู่แล้วในแต่ละบุคคล) ดังนั้นในสังคมเราจึงมีความเบี่ยงเบนขาดหลักการที่มั่นคงแน่นอน อันเนื่องมาจากการใช้สติของแต่ละบุคคลในปัญหาเดียวกัน เปรียบเสมือนการเมืองลุกฟุตบอลที่ทุกคนต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่ามันกลม และมันก็ควรจะต้องเป็นทรงกลม แต่ทุกคนก็จะต้องมีข้อคิดเห็นในข้อปลีกย่อยอื่นๆ เช่น มันควรจะเป็นหนังสัตว์แท้ๆ หรือมันควรจะทำด้วยหนังมนุษย์ และมันควรจะเย็บด้วยมือ ขณะที่อีกคนเห็นว่ามันควรจะเป็นหนังเทียมและอัดเชื่อมด้วยกาวไร้รอยต่อ อีกคนอาจจะคิดว่ามันควรจะเป็นสีเดียว ขณะที่อีกคนเห็นว่าน่าจะสลับเป็นลวดลายธงชาติ

แต่ก็มีข้อเดียวที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน
นั่นคือ ... มันควรเป็นรูปทรงกลม

แต่ ประชาธิปไตย ... ไม่ใช่ลูกฟุตบอล

แนวความคิดของผู้คนในประเทศนี้แตกแยกกันตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว
แม้แต่ความหมายของคำนี้ก็ถูกบัญญัติขึ้นมาเป็นหลายแนวทาง
นักวิชาการที่ร่ำเรียนมาจากหลายสำนักก็มองคำนี้ไปในทิศทางที่ตนเองเข้าใจ
ขณะที่หลายคนก็พยายามบัญญัติแนวทางของตนเองขึ้นมาใหม่
และหลายคนก็เริ่มกระบวนการบิดเบือนความหมายของคำนี้อย่างเจตนา

ทั้งๆ ที่ความหมายในทางการใช้ภาษาไทยที่ร่ำเรียนมา
ย่อมหมายความถึง อำนาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชน

อำนาจอธิปไตย   หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ ดังนั้น สิ่งอื่นใดจะมีอำนาจยิ่งกว่าหรือขัดต่ออำนาจอธิปไตยหาได้ไม่

อธิปไตยในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มี ๓ อย่าง

  1. อัตตาธิปไตย คือการปกครองที่ถือตามความต้องการของตนเองหรือคนส่วนน้อยเป็นใหญ่  
  2. โลกาธิปไตย หมายถึงการปกครองที่ถือตามความต้องการของคนส่วนมาก เป็นใหญ่ 
  3. ธรรมมาธิปไตย หมายถึงการปกครองที่ถือตามความถูกต้องเป็นธรรม หรือปัจเจกชนเป็นใหญ่  

แต่ในสังคมปัจจุบันกลับหาความแน่นอนมั่นคงไม่ได้ เนื่องจากเสียงส่วนมากตามกฎหมายก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นเสียงส่วนมากของประชาชนอย่างแท้จริง ความผันแปรเหล่านี้เกิดมาจากกระบวนการบิดเบือนความถูกต้องทางสังคมที่ประกอบไปด้วยปัจจัยหลายประการ และมีเป้าประสงค์อยู่ที่การแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน และการกอบโกยผลประโยชน์จากทรัพยากรของประเทศอย่างชอบธรรมตามที่กฎหมายบัญญัติไว้

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลสูงสุดในการทำลายหลักการประชาธิปไตยทั้งมวลก็คือ

ระบอบทุนนิยม

ซึ่งทำลายได้แม้กระทั่งศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์

ความคิดเห็น

  1. ทดลองเล่นสล็อต pp เกมสล็อตออนไลน์ รูปแบบใหม่ อัพเดทปี2022 มีเกมให้เลือกเล่นเยอะแยะ ไม่ว่าจะเป็น คาสิโนสด pg slot บาคาร่าออนไลน์เกมยิงปลาซึ่งสามารถเล่นผ่านมือถือได้ทุกระบบ

    ตอบลบ
  2. สล็อต 888 th สล็อต ยอดนิยมเยอะที่สุดก็อาจเป็นเกมสล็อตออนไลน์ เกมที่มาพร้อมทั้งความสนุกเพลินสำหรับในการได้กำไรสม่ำเสมอ PG สะดุดตาด้วยภาพกราฟิก แล้วก็เสียงประกอบกิจการพนัน

    ตอบลบ
  3. สมัคร สมาชิก pgslot กำลังมองหาทางเข้าสู่โลกของการเล่นสล็อตออนไลน์หรือเปล่า? มาเรียนรู้วิธีสมัคร สมาชิก PGSLOT และตะลุยประสบการณ์การเล่นเกมส์ที่น่าตื่นเต้นที่สุดกันเถอะ

    ตอบลบ
  4. ivip9 พวกเราให้บริการหนังสือกีฬาชั้นหนึ่งสำหรับเกมทุกจำพวก pgslot ผลที่ชนะที่มีให้ในเว็บแห่งนี้ลุ้นระทึกกับเกมของพวกเราบันเทิงใจกับเกมสดจากผู้ให้บริการเกมที่เหมาะสมที่สุด

    ตอบลบ
  5. เกม Kingkong Slot โลกที่น่าตื่นเต้นของ และพาให้คุณพบกับประสบการณ์การเล่นเกมที่จะทำให้ท่านไม่ลืมมาตลอดชีวิต ค้นหาความลับ PGSLOT กลยุทธ์ และรางวัลที่เกมสล็อตออนไลน์นี้

    ตอบลบ
  6. PG88 เว็บตรงสล็อตออนไลน์ PG SLOT สล็อตออนไลน์ได้กลายเป็นทางเลือกที่ยิ่งใหญ่และน่าสนใจสำหรับนักพนันในยุคปัจจุบัน PG การเล่นสล็อตผ่านทางอินเทอร์เน็ตนั้นสะดวกสบายและเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บริการสาธารณะ

มองไปข้างหน้า