บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2013

ปลีกวิเวก

รูปภาพ
พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 — 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม, ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และเป็นสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ ปัญญานันทภิกขุ แห่งวัดชลประทานรังสฤษฎ์ และ ท่าน บ.ช. เขมาภิรัตน์ (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ซึ่งท่านสามารถเข้าไปอ่านประวัติของท่านโดยละเอียดได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/

เมาข้ามปี

รูปภาพ
เมื่อ 31 ธันวาคม 2555 มีญาติผู้ใหญ่มาเยี่ยมเยียนที่บ้าน รวม 3 ครอบครัว ทั้งพี่ใหญ่ นายวิมล เพชรรัตน์ กับครอบครัว และน้องเล็ก นายภักดี เพชรรัตน์ กับครอบครัว ทั้งหมดก็แค่ 10 กว่าคนทำเอาบ้านยิ่งแคบลงจนหาที่นอนไม่ได้ เนื่องจากตอนออกแบบน่ะเตรียมพื้นที่ไว้สำหรับคน 3 คนเท่านั้น ทำให้ประชากรประเภทแขกบางส่วนต้องไปกางเต๊นท์นอนหลังบ้าน และบางส่วนก็จำใจต้องนั่งจนสว่างเพราะไม่มีที่นอน (เหตุผลที่ถูกต้องก็คือ ต้องการนั่งกินเหล้าให้เมาข้ามปีน่ะเอง) ซึ่งคนจำพวกนี้ก็คือผู้ชาย 3 คนในภาพนี้ ก็ไม่ใช่ภาพที่จะหาดูได้ง่ายนักเนื่องจากแต่ละคนต่างก็มีการงานที่จะต้องทำอยู่เป็นประจำ ยกเว้นเจ้าของบ้านที่ยืนพุงกางอย่ ดังนั้นการมาเยือนในช่วงเวลาสั้นๆ จึงเป็นความอบอุ่นของครอบครัวอย่างแท้จริง และเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีทางที่จะหวนคืนกลับมา เหมือนกับกาลเวลาที่ผ่านเลยไปได้หอบเอาความสุขในอดีตไปด้วยคงเหลือไว้แต่ภาพถ่ายและความทรงจำที่ดีเท่านั้น ภาพนี้คือสายเลือด เพชรรัตน์ ของ 3 ครอบครัวข้างบน ที่จริงแล้วยังคงเหลือน้องส้มอีกคน ลูกสาวของนางอุษา ชักนำ อยู่กับพ่อแม่ที่รังสิตน่ะไม่ได้มาร่วมพักผ่อนที่ อำเภอวังน้ำเย็น จังห