เตรียมพร้อม


คำว่า "ข้าราชการ" มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัวของมันเองในความรู้สึกของประชาชนมาแต่โบราณกาลแล้ว ตั้งแต่ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย(แบบเผด็จการบ้างและทุนนิยมบ้างแล้วแต่โอกาส) และชาวบ้านโดยทั่วไปก็กลัวเกรงข้าราชการโดยไม่ตั้งใจมานานมากแล้วเช่นกัน ตางพากันผลักดัน ขับไล่ไสส่งลูกหลานให้พากันร่ำเรียนหนังสือ หวังที่จะให้ได้เข้าไปเป็นข้าราชการกับเขาบ้าง ทั้งๆ ที่ตนเองก็ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจในระบบราชการสักเท่าไหร่ ว่าต้องทำอย่างไรและใช้ชีวิตอย่างไร

หากจะแยกส่วนของความเป็นข้าราชการออกมาโดยอาศัยบทบัญญัติตามกฎหมายก็น่าจะแยกออกมาได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ข้าราชการทหาร และ ข้าราชการพลเรือน โดยอาศัยกฎเกณฑ์จาก พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก็จะพบว่าข้าราชการในทุกกระทรวง ทบวง กรม ก็จะปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของ พรบ.ฉบับนี้ ซึ่งไม่รวมข้าราชการทหารเอาไว้ด้วย เนืื่องจาก ทหาร ก็มี พระราชบัญญัติวินัยทหาร พ.ศ.2476 เป็นตัวกำกับบทบาทเอาไว้เช่นกัน แล้วก็ยังมีกฎหมายอื่นๆ ที่ออกมารองรับอีกมากมายซึ่งจะไม่ขอกล่าวถึง ณ ที่นี้

แต่จะขอมาทำความเข้าใจกับบทบาทหน้าที่ของข้าราชการพลเรือนกันเพียงประการเดียว แน่นอนว่าต้องอ้างอิงไปถึง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551   (ซึ่งสามารถเปิดออกอ่านได้ที่นี่) เพราะการก้าวเดินเข้าไปเป็นข้าราชการนั้นต้องเป็นไปตาม มาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งได้บัญญัติว่า การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น โดยบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ การสอบแข่งขัน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแข่งขันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ซึ่งล่าสุดนั้นสามารถถศึกษาได้จาก หนังสือ สำนักงาน กพ. ที่ นร 1004.1/ว 15 ลง 11 ธันวาคม 2551 เรื่อง กำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ (ซึ่งสามารถเปิดออกอ่านได้ที่นี่) เพื่อที่จะได้กำหนดแนวทางและวิธีการก้าวเดินได้อย่างถูกต้องและสมหวัง


จากเอกสาร กำลังคนภาครัฐในฝ่ายพลเรือน 2550
ประเภทข้าราชการ
จำนวนตำแหน่งข้าราชการประเภทต่างๆ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,389,480 ตำแหน่ง ในขณะที่มีจำนวนข้าราชการผู้ครองตำแหน่ง 1,275,350 คน หรือร้อยละ 91.79
• จากจำนวนข้าราชการในฝ่ายพลเรือน ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการประเภทต่างๆ รวมทั้งสิ้น 1,275,350 คนนั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 36.35 (463,565 คน) เป็นข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา รองลงมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ร้อยละ 28.58 (364,486 คน)
และข้าราชการตำรวจ ร้อยละ 16.59 (211,604 คน) ตามลำดับ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 18.48 เป็น
ข้าราชการประเภทอื่นๆ โดยน้อยที่สุด เป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ เพียงร้อยละ 0.19 (2,366
คน) สำหรับข้าราชการส่วนท้องถิ่นมีจำนวน 162,025 คน หรือร้อยละ 12.70 ของจำนวน
ข้าราชการ ในฝ่ายพลเรือนทั้งหมด

ส่วนราชการ
กำลังคนภาครัฐในฝ่ายพลเรือนเกือบครึ่งหนึ่งปฏิบัติภารกิจในด้านการศึกษา มากถึงร้อยละ 43.36 (552,961 คน) โดยร้อยละ 40.66 (518,615 คน) สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นส่วนราชการที่มีข้าราชการปฏิบัติงานในสังกัดมากที่สุดประกอบด้วยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 461,513 คน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา 53,084 คน และข้าราชการพลเรือนสามัญ 4,018 คน นอกจากนี้ เป็นข้าราชการและพนักงานในส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร (14,891 คน) และพนักงานครูเทศบาล (19,455 คน)
• รองลงมาในสัดส่วนที่แตกต่างกันมาก ปฏิบัติงานในภารกิจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คือร้อยละ 16.59 (211,614 คน) และรองลงมาอีก ปฏิบัติภารกิจด้านการสาธารณสุข คือร้อยละ 13.26 (169,164 คน) ส่วนภารกิจด้านวิทยาศาสตร์ มีข้าราชการปฏิบัติงานน้อยที่สุด คือเพียงร้อยละ 0.06 (735 คน) เท่านั้น
• สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นส่วนราชการระดับกรมที่มีข้าราชการปฏิบัติงานในสังกัดมากที่สุด ถึงร้อยละ 34.72 (จำนวน 442,862 คน) ของจำนวนข้าราชการในฝ่ายพลเรือนทั้งหมด โดยประกอบด้วยข้าราชการในสังกัด 2 ประเภท คือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 441,778 คน และข้าราชการพลเรือนสามัญ 1,084 คน รองลงมาคือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 211,604 คน (ร้อยละ 16.59) รองลงมาอีกเป็นสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 151,063 คน (ร้อยละ 11.84) ตามลำดับ
• ส่วนราชการระดับกรม ที่มีอัตรากำลังไม่ถึง 100 อัตรา ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ส่วนราชการต่างๆ ในสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ (ยกเว้น สำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานพัฒนาความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สำนักงานกิจการยุติธรรม กรมการศาสนา สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ราชบัณฑิตยสถาน และสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ภาษิตจีนเคยว่าไว้ รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง นั่นหมายความว่าถ้าอยากจะเข้าสู่สนามรบหรือสนามแข่งขันอะไรก็ตาม หากสามารถเก็บสะสมข้อมูลความรู้ไว้ให้ได้มากที่สุดย่อมได้เปรียบ แต่ก็ต้องรวมถึงเป็นคนที่มีความสามารถที่จะปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ดังนั้น ความรอบรู้จึงเป็นอุปกรณ์เสริมของความสำเร็จ และ ในขณะเดียวกัน ความประมาท จึงเป็นหนทางของหายนะทั้งปวง


สิ่งที่เป็นหัวใจของงานราชการก็คือ การติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกันเอง หรือหระหว่างส่วนราชการกับเอกชน หรือระหว่างประเทศ ระหว่างองค์กรต่างๆ ทุกหน่วยงานจะต้องมีรูปแบบของการติดต่อเป็นเอกสารตามรูปแบบที่ถูกต้องและเป็นแนวทางเดียวกันเพื่อความถูกต้องและเข้าใจกัน ดังนั้น ระเบียบงานสารบรรณ จึงเป็นเรื่องที่จำ็เป็นที่สุดที่จะต้องเรียนรู้

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526  
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ(ฉบับที่ 2)พ.ศ.2548  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บัวสี่เหล่า

บริการสาธารณะ

มองไปข้างหน้า